ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8
.............................................................................
โดย
นายณัชธพงศ์ พวงงาม เลขที่ 9
ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่น 8
.............................................................................
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน
ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ กรอบความคิด ในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีการนำระบบ สารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และในการบริหารงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริหารงานบุคคลและฝ่ายบริหารงบประมาณ ซึ่งสามารถประยุกต์ระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงานโดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
ในการจัดการเรียนการสอน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายและอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการเรียนการสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงระบบบริหารงานห้องสมุด เป็นต้น
ฝ่ายบริหารวิชาการ มีการนำระบบสารสนเทศมาจัดทำฐานข้อมูลวิชาการ งานทะเบียนวัดผล
เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนข้อมูลรายวิชาที่เปิดสอนและนักเรียนลงทะเบียน จัดตารางสอน การกรอกผลการเรียนและคำนวณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนการจัดทำสารสนเทศทางวิชาการของโรงเรียน เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายด้านวิชาการของโรงเรียน ต่อไป
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีการนำระบบสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการงานสารบรรณ มีการใช้ระบบเครือข่ายในการแชร์อุปกรณ์เพื่อใช้งานร่วมกัน มีการรับส่งหนังสือผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อกลางระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
ฝ่ายบริหารงานบุคคล มีการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ ข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง และลูกจ้างประจำ ซึ่งทำให้ผู้บริหารทราบข้อมูลด้านงานบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบุคลากรแต่ละประเภท วันเข้ารับราชการ วันเกษียณอายุราชการ ประวัติการเลื่อนขั้น เป็นต้น
ฝ่ายบริหารงบประมาณ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการ บริหารงานการเงิน พัสดุ และจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน มีการนำสารสนเทศมาใช้เพื่อประกอบการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน
ขั้นตอน
1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและขอความเห็นชอบและร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารโรงเรียน
2. ประชุมครูชี้แจงเพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบายและเห็นความสำคัญของการใช้สารสนเทศในการบริหารงานขององค์กรในด้านต่าง ๆ
3. จัดทำแผนการใช้สารสนเทศส่วนงานต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าส่วนงานใดจะใช้สารสนเทศด้านใด เพื่อจะได้ทราบว่าส่วนงานใดสามารถใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้บ้าง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน
4. ออกแบบการจัดทำฐานข้อมูลของแต่ละส่วนงาน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
5. จัดการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการใช้งานระบบสารสนเทศขององค์กร
6 . ทดลองใช้ และปรับปรุง
จากกรอบความคิดและขั้นตอนในการจัดการระบบสารสนเทศข้างต้น จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการบริการจัดการงานด้านต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อความเป็นระเบียบในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและประมวลผล เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
แต่ในการใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ ยังขาดการเชื่อมโยงและมีการทำงานซ้ำซ้อนอยู่มาก โดยในแต่ละกระทรวงมีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเอง แต่ไม่มีการแชร์ฐานข้อมูล เพื่อลดการเก็บและกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติงานต้องจัดทำ กรอกข้อมูลประเภทเดียวกันหลายๆครั้ง ส่งให้กับหน่วยงานต้นสังกัด กรม กอง ต่างๆ แทนที่จะจัดทำ Data Center ของภาครัฐ และให้กระทรวง ทบวง กรม ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน จะเกิดประโยชน์และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานลงไปได้มาก
--------------------------------------
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการศึกษารายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 พบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถด้าน ICT เพื่อแข่งขันกับโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในส่วนภาคการศึกษา และบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ รวมไปจนถึงการสร้างความเสมอภาค ในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ประชากรทุกส่วนในสังคม มีการบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล โดยมีการจัดให้มีหน่วยงานกลางในการผลักดัน และขับเคลื่อนแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ มีการนำระบบ ICT มาใช้ในกระบวนการบริหารงานงบประมาณ ทั้งในด้านการจัดทำ เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานด้าน ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย เพื่อรองรับการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบท
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการภาครัฐ มีการกำหนดกรอบนโยบาย เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็น และมีมาตรฐานสอดคล้องในมาตรฐานสากลเพื่อรองรับการใช้งานฐานข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ ในการลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มีการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม ICT ทั้งในด้านเงินทุนและมาตรฐานสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT
การใช้ ICT ในการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันที่ยั่งยืน ส่งเสริมภาคการผลิตให้มีความสามารถยกระดับการนำICT มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนในICT เพื่อเปิดการค้าสู่ในตลาดโลกที่ไร้พรมแดน
กล่าวโดยสรุป แผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย จะเปิดประตูสู่ยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ทั้งในภาครัฐและประชาชน ลดขั้นตอนการทำงาน การจัดสรรงบประมาณได้ตรงตามความต้องการของประชาชน ลดช่องว่างในการรับรู้ข่าวสาร การศึกษา ของประชาชน เพิ่มศักยภาพและช่องทางใหม่ๆ ในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในระดับ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็ก
--------------------------------------
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมถึงเครือข่ายได้ง่ายต่อการเข้าถึง และยากต่อการตรวจสอบ โดยขอสรุปประเด็นที่สำคัญ ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
มาตรา 26 ผู้ให้บริการ เช่น ISP หรือเว็บไซต์ ให้เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ในส่วนที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับ งาน ของตนเท่านั้น ไว้อย่างน้อย 90 วัน แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บเพิ่มได้แต่ไม่เกิน 1 ปี เช่น ข้อมูลมาตรฐาน ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บ log file (ประมาณ access log) แต่ ถ้าเป็นเว็บบอร์ด การจัดเก็บ IP ก็เพียงพอแล้วในกรณีนี้หากผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตาม มีโทษ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท อย่างไรก็ตามกรณีที่ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการนั้น ในที่ประชุมได้มีการชี้แจงและอธิบายว่า การเก็บนั้นเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ คือ การเก็บ IP address หรือ จัดให้ มีการ Log in ถือว่าเป็นมาเป็นมาตรการการป้องกันและใช้ได้ตาม พ.ร.บ. นี้ ซึ่งใน พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้บังคับให้ต้องเก็บ เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป มีโทษ จำคุก ไมเกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 5)
- แอบ ไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แล้วนำไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆรู้ มีโทษ จำคุกไมเกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 6)
- ข้อมูล ของผู้อื่น ซึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของหรือลักลอบเอามา (ขโมย) มีโทษจำคุกไมเกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท (มาตรา 7)
- ผู้อื่นส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา มีโทษจำคุกไมเกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 8)
- ข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ หากผู้ใดมือบอนไปทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง แก้ไข มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9)
- ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานอยู่ดี ๆ หากผู้ใดยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10)
- หากผู้อื่นไม่ได้ อยากได้ข้อมูลหรืออีเมล์จากเรา เราก็ทำการเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ (โดยปกปิดหรือปลอมแหล่งที่มา) จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 11)
- ถ้าผู้ใดทำผิดตามมาตรา 9 กับ มาตรา 10. แล้วมันสร้างความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าทันทีหรือไม่ มีโทษจำคุกไมเกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท (มาตรา 12 (1))
- หากผู้ใดสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้บุคคลอื่นหรือตน ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 ถึงมาตรา 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไมเกิน 20,000 บาท (มาตรา 13)
- ผู้ใดกระทำความผิด เช่น ปลอมแปลงข้อมูล ทั้งหมดหรือบางส่วน (phishing), แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติ ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจ เช่นการ ส่งเมล์เรื่องการก่อการร้าย (ไปต่อ ต่อ กัน), โป๊, โกหก, ท้าทายอำนาจรัฐ มีโทษจำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 14)
- ผู้ให้บริการ จงใจ ยินยอม ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ก็ได้รับโทษเช่นกัน คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- ผู้ใดส่งภาพ การตัดต่อ ดัดแปลง ส่งต่อภาพผู้อื่น หรือข้อความ ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกียดชัง อับอาย จำคุกไมเกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 16) แต่อย่างไรก็ตามหาก เป็นการกระทำไปโดยสุจริต เช่นไม่ทราบถึงการดัดแปลงภาพ นั้นว่ามีมาก่อน ผู้กระทำไม่มีความผิด
ผู้ใดทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หรือมีสัญชาติไทย ก็ผิดตาม พ.ร.บ. นี้
- ผู้กระทำความผิด (หมายถึง ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ ตามคำพระราชบัญญัตินี้) หากเป็น คนต่างด้าวรัฐบาลไทย หรือ ผู้เสียหายที่เป็นคนไทยสามารถร้องขอให้ลงโทษได้
สรุปได้ว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำความผิดขึ้น ผลของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้หลายฝ่ายต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนัก โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาย เราต้องไม่ลืมว่า ในขณะนี้ มีมนุษย์ที่อยู่ในโลกออนไลน์จำนวนมาก นั่นหมายความว่า เรากำลังเผชิญกับจำนวนของบุคคลบนอินเตอร์เน็ตจำนวนมากมาย ประกอบกับรูปแบบของการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีวิธีการหลากหลายมากขึ้น กระบวนการไล่จับแบบตำรวจไล่จับขโมยนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ยืนบนความยากมากขึ้นกฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลังจากเกิดการ กระทำความผิดเกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องสร้างกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผ้าระวังสื่อ ออนไลน์ และแจ้งเหตุไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อลดปัญหาการด้านจำนวนและพฤติกรรมของการกระทำความผิด คงต้องเร่งสร้างกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งคงต้องรีบส่งสัญญาณไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม ที่จะร่วมกันพัฒนากฎเกณฑ์และนโยบายเชิงรูปธรรมในการปลูกฝังจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเตอร์เน็ต หมายความว่า เราต้องเร่งสร้างการจัดการให้ผู้ที่จะทำความผิดได้ตระหนักก่อนที่ลงมือกระทำ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ทั้ง เว็บไซต์ลามกอนาจาร การดูหมิ่น หมิ่นประมาท การใช้เข้าถึงข้อมูล ระบบ เครือข่ายโดยมิชอบ ซึ่งจะเพิ่มรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น
.............................................................................
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
งานเกษตร
การปลูกเฟื่องฟ้า
· Bougainvillea buttiana
· Bougainvillea glabra
· Bougainvillea peruviana
· Bougainvillea spectabilis
· Bougainvillea spinosa
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea hybrida
ชื่อสามัญ: ดอกเฟื่องฟ้า (อังกฤษ: Bougainvillea, Paper flower)
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: Peper Flower, Kertas, ตรุษจีน
ลักษณะ: ไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่
ใบ: ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ
ดอก: มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.
การดูแล: ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
ประโยชน์:
ดอกเฟื่องฟ้า ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว พศ. 2423 ใน สมัยรัชกาลที่ 5 พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
2
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่ง เศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์ เฟื่องฟ้าเข้ามาจาก สิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ใน สมัยรัชการที่ 5 และมีการ นำเข้า จาก ต่าง ประเทศ มากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้า ในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า ต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโต ได้ดีในประเทศไทย แล้วยังเกิด การ กลายพันธ ุ์ เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิด ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อ บริเวณตา มีการเปลี่ยนแปลง ในระดับเซล ทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สีของใบประดับเปลี่ยนไป กลายพันธุ์ เป็นใบ ประดับซ้อน กลายพันธุ์เป็นใบด่าง กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก เป็นต้น
การปลูกและดูแลรักษา
เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ป านกลางหรือร้อนชื้น เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำ อย่างเพียงพอ เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
3
พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล
1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช 4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย
ลักษณะทั่วไป
เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้า ไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางด้าน ให้ปลูกในวันพุธ และถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี
4
การปลูก
การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่ทรงพุ่มเช่นกัน
แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้งดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ย
วิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งการขยายพันธ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอดโรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา
เฟื่องฟ้า เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม.ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.
5
เฟื่องฟ้า ไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบ
ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ
ดอก
มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิด ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อ บริเวณตา มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป
การค้นพบ
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกใน ประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซีย สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ในสมัยรัชการที่ 5 และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศเนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
6
การขยายพันธุ์
ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ป านกลางหรือร้อนชื้น เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำ อย่างเพียงพอ เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ มีหลากหลายพันธุ์ หลายสี
เกร็ด
เพลงฟลอร์ดอกเฟื่องฟ้า เป็นเพลงเต้นรำที่เป็นที่นิยมมากในสมัยหนึ่ง ขับร้องโดยวงสุนทราภรณ์
ต้นเฟื่องฟ้า เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจำแนกทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ส่วน: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nyctaginaceae
สกุล: Bougainvillea
7
เฟื่องฟ้า
มงคล เฟื่องฟ้า เป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหน ก็มักจะพบเห็นต้นไม้ชนิดนี้อยู่เสมอ ตามอาคารบ้านเรือน หรือตามสถานที่ต่างๆ เฟื่องฟ้านั้นได้รับการขนาดนามให้เป็น “ราชินีแห่งไม้ประดับ” เนื่องจากสีสันของดอกเฟื่องฟ้า และความอ่อนหวานงดงามของลำต้น ก็ให้ความสุนทรีทางความรู้สึกได้เป็นอย่างดี เพราะการมองสิ่งที่สวยงาม ก็ย่อมสร้างความเจริญตาเจริญใจให้ผู้ชม ต้นไม้ชนิดนี้ ถือว่าเป็นดอกไม้ที่สำคัญกับเทศกาลตรุษจีน เพราะมักจะออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จนใครหลายคนเรียกว่า “ต้นตรุษจีน” เลยทีเดียว คนโบราณเชื่อว่า ครอบครัวที่ปลูกต้นเฟื่องฟ้าเอาไว้ประดับประดาบ้านเรือน ก็จะมีชีวิตที่สดใส ร่าเริง ชื่นบาน ชีวิตราบรื่น มีอนาคตที่ดีมีความฟูเฟื่องรุ่งเรือง ครอบครัวร่มเย็นเป็นสุข เพราะเฟื่องฟ้าจะช่วยเสริมมงคลของชีวิต ให้สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี
เคล็ดปฏิบัติ ราชินีแห่งไม้ประดับอย่างเฟื่องฟ้านั้น เหมาะจะให้คุณสุภาพสตรี เป็นผู้ลงมือปลูก เพราะความงดงามอ่อนช้อยของผู้หญิง จะช่วยเสริมพลังให้ต้นเฟื่องฟ้า ทิศตะวันออก เป็นทิศที่เหมาะสำหรับการปลูกเฟื่องฟ้า เพราะต้นเฟื่องฟ้าที่ได้รับแสงแดดยามเช้าอย่างเต็มที่ จะแตกกิ่งก้านสวยงาม ลงมือปลูกต้นเฟื่องฟ้าในวันพุธ เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่ให้ดอกสวยสะพรั่งเต็มต้นนั้น ควรจะปลูกในวันพุธ จึงจะมีลักษณะที่ดี และเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
· Bougainvillea buttiana
· Bougainvillea glabra
· Bougainvillea peruviana
· Bougainvillea spectabilis
· Bougainvillea spinosa
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea hybrida
ชื่อสามัญ: ดอกเฟื่องฟ้า (อังกฤษ: Bougainvillea, Paper flower)
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: Peper Flower, Kertas, ตรุษจีน
ลักษณะ: ไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่
ใบ: ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ
ดอก: มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.
การดูแล: ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
ประโยชน์:
ดอกเฟื่องฟ้า ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว พศ. 2423 ใน สมัยรัชกาลที่ 5 พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
2
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่ง เศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์ เฟื่องฟ้าเข้ามาจาก สิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ใน สมัยรัชการที่ 5 และมีการ นำเข้า จาก ต่าง ประเทศ มากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้า ในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า ต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโต ได้ดีในประเทศไทย แล้วยังเกิด การ กลายพันธ ุ์ เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิด ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อ บริเวณตา มีการเปลี่ยนแปลง ในระดับเซล ทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สีของใบประดับเปลี่ยนไป กลายพันธุ์ เป็นใบ ประดับซ้อน กลายพันธุ์เป็นใบด่าง กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก เป็นต้น
การปลูกและดูแลรักษา
เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ป านกลางหรือร้อนชื้น เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำ อย่างเพียงพอ เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
3
พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล
1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช 4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย
ลักษณะทั่วไป
เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้า ไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางด้าน ให้ปลูกในวันพุธ และถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี
4
การปลูก
การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่ทรงพุ่มเช่นกัน
แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้งดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ย
วิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งการขยายพันธ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอดโรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา
เฟื่องฟ้า เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม.ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.
5
เฟื่องฟ้า ไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ เหนือใบ ใบ
ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ
ดอก
มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิด ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อ บริเวณตา มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป
การค้นพบ
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกใน ประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซีย สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ในสมัยรัชการที่ 5 และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศเนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
6
การขยายพันธุ์
ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ป านกลางหรือร้อนชื้น เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำ อย่างเพียงพอ เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ มีหลากหลายพันธุ์ หลายสี
เกร็ด
เพลงฟลอร์ดอกเฟื่องฟ้า เป็นเพลงเต้นรำที่เป็นที่นิยมมากในสมัยหนึ่ง ขับร้องโดยวงสุนทราภรณ์
ต้นเฟื่องฟ้า เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจำแนกทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ส่วน: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nyctaginaceae
สกุล: Bougainvillea
7
เฟื่องฟ้า
มงคล เฟื่องฟ้า เป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหน ก็มักจะพบเห็นต้นไม้ชนิดนี้อยู่เสมอ ตามอาคารบ้านเรือน หรือตามสถานที่ต่างๆ เฟื่องฟ้านั้นได้รับการขนาดนามให้เป็น “ราชินีแห่งไม้ประดับ” เนื่องจากสีสันของดอกเฟื่องฟ้า และความอ่อนหวานงดงามของลำต้น ก็ให้ความสุนทรีทางความรู้สึกได้เป็นอย่างดี เพราะการมองสิ่งที่สวยงาม ก็ย่อมสร้างความเจริญตาเจริญใจให้ผู้ชม ต้นไม้ชนิดนี้ ถือว่าเป็นดอกไม้ที่สำคัญกับเทศกาลตรุษจีน เพราะมักจะออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จนใครหลายคนเรียกว่า “ต้นตรุษจีน” เลยทีเดียว คนโบราณเชื่อว่า ครอบครัวที่ปลูกต้นเฟื่องฟ้าเอาไว้ประดับประดาบ้านเรือน ก็จะมีชีวิตที่สดใส ร่าเริง ชื่นบาน ชีวิตราบรื่น มีอนาคตที่ดีมีความฟูเฟื่องรุ่งเรือง ครอบครัวร่มเย็นเป็นสุข เพราะเฟื่องฟ้าจะช่วยเสริมมงคลของชีวิต ให้สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี
เคล็ดปฏิบัติ ราชินีแห่งไม้ประดับอย่างเฟื่องฟ้านั้น เหมาะจะให้คุณสุภาพสตรี เป็นผู้ลงมือปลูก เพราะความงดงามอ่อนช้อยของผู้หญิง จะช่วยเสริมพลังให้ต้นเฟื่องฟ้า ทิศตะวันออก เป็นทิศที่เหมาะสำหรับการปลูกเฟื่องฟ้า เพราะต้นเฟื่องฟ้าที่ได้รับแสงแดดยามเช้าอย่างเต็มที่ จะแตกกิ่งก้านสวยงาม ลงมือปลูกต้นเฟื่องฟ้าในวันพุธ เพราะคนโบราณเชื่อว่า ต้นไม้ที่ให้ดอกสวยสะพรั่งเต็มต้นนั้น ควรจะปลูกในวันพุธ จึงจะมีลักษณะที่ดี และเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
ประวัติพระพุทธเจ้า
พระโคตมพุทธเจ้า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
พระโคตมพุทธเจ้า หรือที่นิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ เป็นผู้สั่งสอนพระธรรมวินัยซึ่งต่อมาเรียกว่าพระพุทธศาสนา ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาท ถือว่าการเรียกพระพุทธเจ้าโดยออกนามโคตรนั้นเป็นการไม่เคารพ เช่น เรียกว่า พระสมณโคดม เป็นต้น ทำให้ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาทมักเรียกพระพุทธองค์โดยใช้ศัพท์ว่า สตฺถา ที่แปลว่า พระศาสดา แทน ปัจจุบันชาวพุทธนิยมเรียกพระโคตมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึง พระโคตมพุทธเจ้า นั่นเอง
เหตุที่ทำให้ต้องเรียกพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันโดยออกชื่อโคตรนั้น เพราะว่าในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถือว่าพระพุทธเจ้า หรือผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวงเองนั้น เคยมีมาแล้วในอดีตนับประมาณไม่ได้ การเรียกโดยระบุนามโคตรของพระองค์จึงเป็นการเจาะจงว่าหมายเฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ (องค์ปัจจุบัน ซึ่งกำเนิดในโคตมโคตร) เท่านั้น
โดยตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานนับถือตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล
พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสผู้ทรงดำรงตำแหน่งแห่งศากยมกุฏราชกุมาร ของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่ช้านาน มีพระนามแต่แรกประสูติว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถ (อ่านว่า: สิทธาระถะ) เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้รับการถวาย
2
พระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี พระพุทธโคดม พระโคดมพุทธเจ้า ทั้งนี้ ทรงออกพระนามพระองค์เองว่า "ตถาคต" แปลว่า พระผู้ไปดีแล้ว (คือทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว)[1]
] พระประสูติกาล
พระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นโกศล ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้นก็มีพระประสูติกาล ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระพุทธมารดาได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าชื่อ ลุมพินี[2] และมีพระประสูติกาลเป็นพระโอรสซึ่งต่อมาจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นเป็นวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศักราชแปดสิบปี อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล[3]
หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้วเจ็ดวัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคาลัย ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และเมื่อพระพุทธมารดาได้ให้พระประสูติกาลแก่พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่สมควรจะได้ร่วมกามเมถุนอีก จึงเป็นพุทธมารดาประเพณีที่จะพระองค์จักต้องเสด็จสวรรคาลัย
นอกจากนี้ หลังจากมีพระประสูติกาลแล้วห้าวัน พระเจ้าสุทโธนะโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระประสูติกาลพระกุมาร ฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะดาบส" ได้เดินทางแต่เขาที่ตนพำนักมายังพระราชพิธีด้วย พระกุมารได้วางพระบาทเหนือศีรษะฤๅษีอสิตะเพื่อให้ชมดูรอยตำหนิแห่งการกำเนิด เมื่อพบว่าพระกุมารมีมหาปุริสลักษณะ ฤๅษีจึงประกาศว่าพระราชโอรสพระองค์นี้ในอนาคตกาลจะได้เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ในพระราชพิธี พราหมณ์แปดนายซึ่งได้รับเชิญมา เจ็ดนายในจำนวนนั้นทำนายเป็นเสียงเดียวกันอย่างคำประกาศของฤๅษีอสติะ เว้นแต่พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ฝ่ายพราหมณ์โกณฑัญญะเมื่อเชื่อมั่นในคำทำนายของตนแล้วก็ออกบวชล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวเป็นสาวกของพระกุมารเมื่อได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วในอนาคต
3
ในพระราชพิธีนี้ พระกุมารทรงได้รับพระนามว่า "สิทธัตถะ" หรือ "สิทธารถ" (อ่านว่า: สิทธาระถะ) มีความหมายว่า ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือ ผู้ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น
เจ้าชายสืบราชสมบัติ
เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิศ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชาที่เปิดสอน
พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะออกบวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหนคร เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขกับพระนางตลอดมา จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็มีพระราชโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง
เจ้าชายเสด็จออกบวช
[เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา
เทวทูตทั้ง 4
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถา (หลักฐานชั้นรอง แต่งโดยคัมภีราจารย์รุ่นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยและอภิเษกสมรสล่วงมาได้ 29 พรรษาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์[4] จนวันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นทรงพบ
4
เทวทูตทั้ง 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสมณะ
ในวันที่เจ้าชายราหุลเกิดนั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระโอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล ทรงเสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้าเขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เวลาเช้า ตรงกับวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ
เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)
(ตามนัยอรรถกถา) หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง ทรงตัดพระเมาฬีที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีเพื่ออธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น คือ พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา[5] ได้ทรงปรารภเหตุคือ ความแก่ เจ็บ ตาย ที่มีอยู่ทุกคนเป็นธรรมโลก ไม่มีใครจะรอดพ้นไปได้ แต่เพราะว่ามิได้ฟังคำสั่งสอนของผู้รู้ จึงทำให้มัวแต่มานั่งรังเกียจเหตุเหล่านั้นว่า
5
เป็นของไม่ควรคิด ไม่ควรสนใจ ทำให้คนเราทั้งหลาย มัวมาแต่ลุ่มหลงอยู่ในกิเลสทั้งหลายเพราะความเมา 3 ประการ คือ เมาว่าตัวยังหนุ่มยังสาวอยู่อีกนานกว่าจะแก่ 1 เมาว่าไม่มีโรคอยู่และโรคคงจะไม่เกิดแก่เรา 1 เมาว่าชีวิตเป็นของยั่งยืน 1[6] มัวแต่ใช้ชีวิตทิ้งไปวัน ๆ กล่าวคือ ทรงดำริว่า
...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริงแต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว (ให้โง่) อยู่อีกเล่า!
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค อุปริ. ม. มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า
เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว เราพึงแสวงหา "นิพพาน" อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
นอกจากนี้ ในสคารวสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้น ๆ ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. สคารวสุตฺต พฺราหฺมณวคฺค ม. มู.๑๓/๖๖๙/๗๓๘
ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวช โดยการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้น มิได้ทรงหนีออกจากพระราชวัง แต่ทรงเสด็จออกผนวชต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียว ดังในโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ว่า
6
...เรายังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. โพธิราชกุมารสุตฺต ราชวคฺค ม. มู. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙
เหตุการณ์จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ) ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตนเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือบรรลุฌานขั้นที่ 7
บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
การบำเพ็ญทุกกรกิริยา
เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบสจึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้
7
พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดยทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน อาทิการกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกายหูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถีทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้
ขณะนั้นมีฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย
พระสมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้นสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงอาตมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาภึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม
ความนี้ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรงดีดพิณสายที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะ วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป
พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกขกิริยานั้น เป็นการทรมาณตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทางสมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป
การตรัสรู้ยิ่ง
ภาพวาดปฐมเทศนาในวัดเจดีย์เหลี่ยม จ.เชียงใหม่
8
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
ทรงประทับนั่ง ขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ พญาวัสสวดีมาร เข้าทำการขัดขวางการตรัสรู้ ของพระมหาบุรุษ แต่พ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจบารมี ครั้นพญามารพ่ายแพ้กลับไปแล้ว พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปจนถึงยามต้น ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุติญาณ คือ ทรงระลึกชาติในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม ทรงบรรลุ อาสวักขญาณ คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส (มาร) ด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ อุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ขณะมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา
การแสดงปฐมเทศนา
เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ วัน เพ็ญ เดือน 8 คือวันอาสาฬหบูรณมี ซึ่งกล่าวถึงที่สุด 2อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจจสี่และมรรคมีองค์แปด 1
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วตโกณฑัญโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก
9
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
พระองค์ก็ได้เที่ยวสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดระยะเวลา 45 พรรษา เพื่อให้ศาสนิกชนได้พบเห็นทางที่นำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคามใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระองค์เสวยสุกรมัททวะ ที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
จนกระทั่งถึงดับขันธุ์ปรินิพาน ระหว่างใต้ต้นรังคู่ ณ แขวงเมืองกุสินารา ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
หลักธรรม คำสอน
พระพุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนพุทธบริษัทเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรม คือคำสอนในสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน
พระธรรมนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ คำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ ชีวิตประจำวันของ ผู้คนทั่วไป เรียกว่าพระสูตร และคำสอนที่เป็น หัวข้อธรรมล้วนๆ เช่น ขันธ์ 5 ปัจจยา การ 12 เป็นต้นเรียกว่าพระอภิธรรม ส่วนวินัยสำหรับพระ ภิกษุและภิกษุณี ได้แก่กฎระเบียบข้อปฏิบัติ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน พุทธบริษัทได้ ร่วมกันรวบรวม พระสูตร พระอภิธรรมและพระวินัยจัดเข้าเป็น หมวดหมู่ได้ 84,000 หมวด รวมเรียกว่า พระไตรปิฎก
อ้างอิง
1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 9 กุมภาพันธุ์). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: < http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp >. (เข้าถึงเมื่อ: 18 ตุลาคม 2551).
10
2. ^ Buddhist Studies. (2008). Lumbini: Birth Place of the Buddha. [Online]. Available: < http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhistworld/lumbini.htm >. (Accessed: 18 October 2008).
3. ^ UNESCO World Heritage Centre. (2006). Lumbini, the birthplace of the Lord Buddha. Available: < http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=666 >. (Accessed: 18 October 2008).
4. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มาคณฺฑิยสุตฺต ปริพาชกวคฺค ม. ม. ๑๓/๒๔๗/๒๘๑
5. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาปรินิพฺพานสุตฺต มหา. ที. ๑๐/๑๗๖/๑๓๙
6. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
พุทธประวัติ
ลานพุทธศาสนา
ศาสดาและประวัติ dra.go.th
สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, ประเพณี และ วัฒนธรรมไทย,สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช, 2530, หน้า 50-52
ดูเพิ่ม
พระพุทธเจ้า (ในความหมายทั่วไป)
วิสาขบูชา (วันประสูตร ตรัสรู้ ปรินิพพาน)
อาสาฬหบูชา (วันปฐมเทศนา)
มาฆบูชา (วันที่ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์และปลงพระชนมายุสังขาร)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2".
หมวดหมู่: บุคคลที่เกิด 563 ปีก่อนคริสตกาล บุคคลที่เสียชีวิต 483 ปีก่อนคริสตกาล บุคคลที่เกิด 80 ปีก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้า อภิธานศัพท์พุทธศาสนา
ส่วนบนของฟอร์ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
พระโคตมพุทธเจ้า หรือที่นิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ เป็นผู้สั่งสอนพระธรรมวินัยซึ่งต่อมาเรียกว่าพระพุทธศาสนา ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาท ถือว่าการเรียกพระพุทธเจ้าโดยออกนามโคตรนั้นเป็นการไม่เคารพ เช่น เรียกว่า พระสมณโคดม เป็นต้น ทำให้ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาทมักเรียกพระพุทธองค์โดยใช้ศัพท์ว่า สตฺถา ที่แปลว่า พระศาสดา แทน ปัจจุบันชาวพุทธนิยมเรียกพระโคตมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึง พระโคตมพุทธเจ้า นั่นเอง
เหตุที่ทำให้ต้องเรียกพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันโดยออกชื่อโคตรนั้น เพราะว่าในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถือว่าพระพุทธเจ้า หรือผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวงเองนั้น เคยมีมาแล้วในอดีตนับประมาณไม่ได้ การเรียกโดยระบุนามโคตรของพระองค์จึงเป็นการเจาะจงว่าหมายเฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ (องค์ปัจจุบัน ซึ่งกำเนิดในโคตมโคตร) เท่านั้น
โดยตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานนับถือตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล
พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสผู้ทรงดำรงตำแหน่งแห่งศากยมกุฏราชกุมาร ของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่ช้านาน มีพระนามแต่แรกประสูติว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถ (อ่านว่า: สิทธาระถะ) เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้รับการถวาย
2
พระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี พระพุทธโคดม พระโคดมพุทธเจ้า ทั้งนี้ ทรงออกพระนามพระองค์เองว่า "ตถาคต" แปลว่า พระผู้ไปดีแล้ว (คือทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว)[1]
] พระประสูติกาล
พระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นโกศล ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้นก็มีพระประสูติกาล ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระพุทธมารดาได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าชื่อ ลุมพินี[2] และมีพระประสูติกาลเป็นพระโอรสซึ่งต่อมาจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นเป็นวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศักราชแปดสิบปี อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล[3]
หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้วเจ็ดวัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคาลัย ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และเมื่อพระพุทธมารดาได้ให้พระประสูติกาลแก่พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่สมควรจะได้ร่วมกามเมถุนอีก จึงเป็นพุทธมารดาประเพณีที่จะพระองค์จักต้องเสด็จสวรรคาลัย
นอกจากนี้ หลังจากมีพระประสูติกาลแล้วห้าวัน พระเจ้าสุทโธนะโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระประสูติกาลพระกุมาร ฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะดาบส" ได้เดินทางแต่เขาที่ตนพำนักมายังพระราชพิธีด้วย พระกุมารได้วางพระบาทเหนือศีรษะฤๅษีอสิตะเพื่อให้ชมดูรอยตำหนิแห่งการกำเนิด เมื่อพบว่าพระกุมารมีมหาปุริสลักษณะ ฤๅษีจึงประกาศว่าพระราชโอรสพระองค์นี้ในอนาคตกาลจะได้เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ในพระราชพิธี พราหมณ์แปดนายซึ่งได้รับเชิญมา เจ็ดนายในจำนวนนั้นทำนายเป็นเสียงเดียวกันอย่างคำประกาศของฤๅษีอสติะ เว้นแต่พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ฝ่ายพราหมณ์โกณฑัญญะเมื่อเชื่อมั่นในคำทำนายของตนแล้วก็ออกบวชล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวเป็นสาวกของพระกุมารเมื่อได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วในอนาคต
3
ในพระราชพิธีนี้ พระกุมารทรงได้รับพระนามว่า "สิทธัตถะ" หรือ "สิทธารถ" (อ่านว่า: สิทธาระถะ) มีความหมายว่า ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือ ผู้ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น
เจ้าชายสืบราชสมบัติ
เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิศ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชาที่เปิดสอน
พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะออกบวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหนคร เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขกับพระนางตลอดมา จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็มีพระราชโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง
เจ้าชายเสด็จออกบวช
[เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา
เทวทูตทั้ง 4
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถา (หลักฐานชั้นรอง แต่งโดยคัมภีราจารย์รุ่นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยและอภิเษกสมรสล่วงมาได้ 29 พรรษาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์[4] จนวันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นทรงพบ
4
เทวทูตทั้ง 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสมณะ
ในวันที่เจ้าชายราหุลเกิดนั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระโอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล ทรงเสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้าเขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เวลาเช้า ตรงกับวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ
เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)
(ตามนัยอรรถกถา) หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง ทรงตัดพระเมาฬีที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีเพื่ออธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น คือ พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา[5] ได้ทรงปรารภเหตุคือ ความแก่ เจ็บ ตาย ที่มีอยู่ทุกคนเป็นธรรมโลก ไม่มีใครจะรอดพ้นไปได้ แต่เพราะว่ามิได้ฟังคำสั่งสอนของผู้รู้ จึงทำให้มัวแต่มานั่งรังเกียจเหตุเหล่านั้นว่า
5
เป็นของไม่ควรคิด ไม่ควรสนใจ ทำให้คนเราทั้งหลาย มัวมาแต่ลุ่มหลงอยู่ในกิเลสทั้งหลายเพราะความเมา 3 ประการ คือ เมาว่าตัวยังหนุ่มยังสาวอยู่อีกนานกว่าจะแก่ 1 เมาว่าไม่มีโรคอยู่และโรคคงจะไม่เกิดแก่เรา 1 เมาว่าชีวิตเป็นของยั่งยืน 1[6] มัวแต่ใช้ชีวิตทิ้งไปวัน ๆ กล่าวคือ ทรงดำริว่า
...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริงแต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว (ให้โง่) อยู่อีกเล่า!
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค อุปริ. ม. มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า
เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว เราพึงแสวงหา "นิพพาน" อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
นอกจากนี้ ในสคารวสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้น ๆ ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. สคารวสุตฺต พฺราหฺมณวคฺค ม. มู.๑๓/๖๖๙/๗๓๘
ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวช โดยการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้น มิได้ทรงหนีออกจากพระราชวัง แต่ทรงเสด็จออกผนวชต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียว ดังในโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ว่า
6
...เรายังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. โพธิราชกุมารสุตฺต ราชวคฺค ม. มู. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙
เหตุการณ์จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ) ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตนเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือบรรลุฌานขั้นที่ 7
บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม
การบำเพ็ญทุกกรกิริยา
เมื่อหมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบสจึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้
7
พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดยทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน อาทิการกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกายหูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถีทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้
ขณะนั้นมีฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย
พระสมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้นสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงอาตมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาภึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม
ความนี้ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรงดีดพิณสายที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะ วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป
พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกขกิริยานั้น เป็นการทรมาณตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทางสมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป
การตรัสรู้ยิ่ง
ภาพวาดปฐมเทศนาในวัดเจดีย์เหลี่ยม จ.เชียงใหม่
8
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
ทรงประทับนั่ง ขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ พญาวัสสวดีมาร เข้าทำการขัดขวางการตรัสรู้ ของพระมหาบุรุษ แต่พ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจบารมี ครั้นพญามารพ่ายแพ้กลับไปแล้ว พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปจนถึงยามต้น ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุติญาณ คือ ทรงระลึกชาติในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม ทรงบรรลุ อาสวักขญาณ คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส (มาร) ด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ อุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ขณะมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา
การแสดงปฐมเทศนา
เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ วัน เพ็ญ เดือน 8 คือวันอาสาฬหบูรณมี ซึ่งกล่าวถึงที่สุด 2อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจจสี่และมรรคมีองค์แปด 1
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วตโกณฑัญโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก
9
พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
พระองค์ก็ได้เที่ยวสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดระยะเวลา 45 พรรษา เพื่อให้ศาสนิกชนได้พบเห็นทางที่นำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคามใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระองค์เสวยสุกรมัททวะ ที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
จนกระทั่งถึงดับขันธุ์ปรินิพาน ระหว่างใต้ต้นรังคู่ ณ แขวงเมืองกุสินารา ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
หลักธรรม คำสอน
พระพุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนพุทธบริษัทเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรม คือคำสอนในสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน
พระธรรมนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ คำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ ชีวิตประจำวันของ ผู้คนทั่วไป เรียกว่าพระสูตร และคำสอนที่เป็น หัวข้อธรรมล้วนๆ เช่น ขันธ์ 5 ปัจจยา การ 12 เป็นต้นเรียกว่าพระอภิธรรม ส่วนวินัยสำหรับพระ ภิกษุและภิกษุณี ได้แก่กฎระเบียบข้อปฏิบัติ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน พุทธบริษัทได้ ร่วมกันรวบรวม พระสูตร พระอภิธรรมและพระวินัยจัดเข้าเป็น หมวดหมู่ได้ 84,000 หมวด รวมเรียกว่า พระไตรปิฎก
อ้างอิง
1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 9 กุมภาพันธุ์). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: < http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp >. (เข้าถึงเมื่อ: 18 ตุลาคม 2551).
10
2. ^ Buddhist Studies. (2008). Lumbini: Birth Place of the Buddha. [Online]. Available: < http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhistworld/lumbini.htm >. (Accessed: 18 October 2008).
3. ^ UNESCO World Heritage Centre. (2006). Lumbini, the birthplace of the Lord Buddha. Available: < http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=666 >. (Accessed: 18 October 2008).
4. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มาคณฺฑิยสุตฺต ปริพาชกวคฺค ม. ม. ๑๓/๒๔๗/๒๘๑
5. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาปรินิพฺพานสุตฺต มหา. ที. ๑๐/๑๗๖/๑๓๙
6. ^ สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖
พุทธประวัติ
ลานพุทธศาสนา
ศาสดาและประวัติ dra.go.th
สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, ประเพณี และ วัฒนธรรมไทย,สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช, 2530, หน้า 50-52
ดูเพิ่ม
พระพุทธเจ้า (ในความหมายทั่วไป)
วิสาขบูชา (วันประสูตร ตรัสรู้ ปรินิพพาน)
อาสาฬหบูชา (วันปฐมเทศนา)
มาฆบูชา (วันที่ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์และปลงพระชนมายุสังขาร)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2".
หมวดหมู่: บุคคลที่เกิด 563 ปีก่อนคริสตกาล บุคคลที่เสียชีวิต 483 ปีก่อนคริสตกาล บุคคลที่เกิด 80 ปีก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้า อภิธานศัพท์พุทธศาสนา
ส่วนบนของฟอร์ม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)